“พระพรหมบัณฑิต”ยกเคส13ชีวิตหมูป่าติดถ้ำยุคดิจิตทัล สะท้อนจิตอาสาโลก

“พระพรหมบัณฑิต”ยกเคส13ชีวิตหมูป่าติดถ้ำยุคดิจิตทัล สะท้อนจิตอาสาโลก แนะปั้น “นิสิต มจร” จิตอาสาช่วยเหลือสังคม วันที่ ๙ ก.ค.๒๕๖๑ พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า ได้ร่วมงาน ๕๗ ปีคณะครุศาสตร์ในงานมีการมอบเกียรบัตรให้กับบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ในด้านต่างๆ ให้กับคณะครุศาสตร์ จากนั้นพระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปาฐกถาในงาน ๕๗ ปี ครุศาสตร์ มหาจุฬา รำลึก กล่าวว่า ขออนุโมทนากับผู้บริหารและคณาจารย์นิสิต มหาจุฬาฯมีอายุมาถึง ๑๓๐ ปี ส่วนคณะครุศาสตร์อายุ ๕๗ ปี ทำให้เรามีประสบการณ์ที่เข้มแข็ง ครุศาสตร์เหมือนต้นไม้ที่ค่อยๆ เติบโต มีความเข้มแข็ง ส่วนต้นไม้ที่เติบโตรวดเร็วจะมีโพรงตรงกลาง เราจึงมีเหลียวหลังแลหน้าครุศาสตร์ บุคคลที่ฉลาดกว่าจะเรียนรู้จากความผิดพลาดของบุคคลอื่นเพื่อไม่ให้ตนเองผิดพลาด

ยุคดิจิตอลเป็นยุคสังคมข่าวสาร เราจึงมีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและพัฒนามาเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในปี๒๕๕๙ (Ministry of Digital Economy and Society) ถือว่าเรามาอยู่ยุคร่วมสมัย มีลักษณะ “ความรวดเร็ว” เช่นกรณีหมูป่าออกจากถ้ำเราสามารถรับรู้อย่างรวดเร็วแม้จะเป็นเหตุการณ์ในป่าในภูเขา ยุคดิจิตอลจึงต้องถือโอกาสแสวงหาความรู้ “ไม่มีขอบเขตจำกัด” สามารถไปได้ทั่วโลก และ “เชื่อมโยงเครือข่าย” โลกปัจจุบันจึงเชื่อมโยงถึงกันเป็นเครือข่าย เราจะเลือกเป้าอย่างไรให้เกิดความเหมาะสม จึงมีการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้วยการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วยการใช้แผนการอย่างพลิกแพลงตามสถานการณ์ จึงต้องมีการวิเคราะห์สถานการณ์ตามแนวทาง SWOT ด้วยจุดเด่น จุดด้อย โอกาส อุปสรรค เราจะจัดการศึกษาให้เหมาะสมเราจะใช้ประโยชน์จากยุคดิจิตอลได้อย่างไรในการจัดการเรียนการสอน จุดเด่นของครุศาสตร์คืออะไร จุดด้อยของครุศาสตร์คืออะไร อะไรคือโอกาสของครุศาสตร์ เราจึงต้องอาศัยทุนทางสังคมเข้ามาพัฒนาคณะและมหาจุฬา ถือว่าเป็นจุดแข็งมหาจุฬา จึงมีการปรับแผนกลยุทธ์ TOWS Matrix คือ ๑)รีบรุก SO จุดแข็ง+โอกาส ๒)หลีกเลี่ยง ST จุดแข็ง+อุปสรรค ๓)ลองเสี่ยง WO จุดอ่อน+โอกาส ๔)ตั้งรับ WTจุดอ่อน+อุปสรรค

การสร้างมหาจุฬาถือว่าเป็นโอกาสในการพัฒนาการศึกษา เหมือนเหยี่ยวบินวนรอโอกาส พอเห็นเหยื่อเท่านั้นพุ่งตรงทันที เราทำงานมีโอกาสจึงอย่ารอจึงรีบพัฒนา ทิศทางการศึกษามาจาก SDGs เราต้องดูข้อที่ ๔ ซึ่งสอดคล้องกับครุศาสตร์เป็นการพัฒนามนุษย์ ซึ่งเราจัดงานวิสาขบูชาโลกเราก็พูดเรื่องการพัฒนามนุษย์ ว่า Ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all. ซึ่ง หมายถึง คนทั่วโลกจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน ถือว่าเป็นเป้าหมายระดับโลก โดยมีการประชุมEducation 2030 มีการประประกาศใช้ ๔ พฤศจิกายน ๒๐๑๕ ว่าจะพัฒนาระดับโลกต้องจัดการศึกษา ทำให้ชายหญิงจบการศึกษา และมีการปฏิรูปครูให้ครูมีคุณภาพ จะให้ครูมีคุณภาพทำอย่างไร มีการวางในระดับโลก ถ้าเราจะพัฒนาครูต้องใช้แผนTeacher policy development จึงมีการพัฒนา ๙ เรื่อง (9 Key dimensions of teacher policy)

๑)Teacher Recruitment ปรับปรุงเรื่องการบรรจุครูให้ตรงสาย ครูจะต้องเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ เรามีครูเก่งเยอะจึงเราขาดการแลกเปลี่ยนกับที่อื่น เรียกว่า พันธุกรรมเดิมๆ จึงมีการส่งไปเรียนเพิ่มด้านประกาศนียบัตร เช่น ส่งไปเรียนภาษาอังกฤษแล้วมาเป็นผู้อำนวยการสถาบันภาษาและไปสู่ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ๒)Teacher education ๓)Deployment นำคนที่มีความเก่งๆ ที่มีศรัทธามาสอนมาพัฒนา ๔)Career Structures /Paths ขอตำแหน่งทางวิชาการเพื่อการพัฒนาการสอน ยกระดับของครูอาจารย์ ๕)Teacher Employment and Working Conditions สภาพบรรยากาศการเรียนการสอนอย่างดี ๖)Teacher Reward and Remuneration มีรางวัล มีการยกย่องชื่นชม ๗)Teacher Standards มาตรฐานครู ๘)Teacher Accountability ความรับผิดชอบต่อจิตวิญญาณของครู ๙)School or Faculty Governanec มีความเป็นธรรมาภิบาล

“ปัจจุบันครุศาสตร์เปิดสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตร ๔ ปี เป็นยุคดิจิทัล  ซึ่งอธิการบดีเน้นย้ำให้เปิดสาขานี้เพราะถือว่าเป็นโอกาสของมหาจุฬาฯ เราจะสอนไปถึงการเขียนโปรแกรม ซึ่งอดีตเลขศูนย์ไม่มีคนอินเดียเป็นคนคิดเลขศูนย์ เพราะคนอินเดียชอบนั่งกรรมฐาน ปัจจุบันดิจิทัลมีราคาถูก

“รักษาการอธิการบดี มจร ได้ยกกรณีการช่วยชีวิต ๑๓ หมูป่า ได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกเพราะอาศัยดิจิตอลถือว่าเป็นจิตอาสาของบุคคลทั่วโลก ครุศาสตร์ต้องมีการสอนด้วยจิตอาสา ออกไปช่วยสังคม มหาจุฬาฯต้องมีความรวดเร็วในสถานการณ์ปัจจุบัน มีจิตอาสาด้วยความสมัครใจทำงานเพื่อประโยชน์สุขแห่งประชาชนและสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงินหรือสิ่งอื่นใด เราอยากเห็นการปฏิบัติศาสนกิจของนิสิตมหาจุฬาฯด้วยจิตอาสา โดยเฉพาะนิสิตที่ไปปฏิบัติศาสกิจกับชาวเขา แต่เราต้องถอดบทเรียนจากสิ่งที่เราพื้นที่ ต่อไปใครจะขอตำแหน่งทางวิชาการ จะต้องทำบริการวิชาการเพื่อสังคม ลักษณะของจิตอาสานั้นต้อง “เสนอตัวเข้าร่วมกิจกรรม อันเป็นประโยชน์สุขแห่งประชาชนและสังคม ด้วยความสมัครสมานเต็มใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน” ครูครุศาสตร์จะต้องมีจิตอาสาเป็นเครื่องนำทาง จิตอาสาจึงเป็นสังคหวัตถุธรรมด้วย ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตา” พระนิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร  กล่าวและว่า

ต่อจากนั้นฟังการบรรยายเรื่อง”กฎเกณฑ์และทิศทางการพัฒนาวิชาชีพครู”  โดย ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ เลขาธิการคุรุสภา กล่าวตอนหนึ่งว่า การเรียนการสอนไม่ใช่เรียนในห้องเรียน แต่จะเรียนผ่านสื่อดิจิตอล บทบาทของครูจะต้องเรียนรู้พร้อมนักเรียน เช่น คนที่ดำน้ำเก่งที่สุดในโลกอยู่ในถ้ำ เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ แต่ระบบดิจิตอลไม่สามารถบ่มเพาะด้านจิตวิญญาณคุณธรรมจริยธรรมได้ โดยครูเป็นแบบอย่างที่ดี จึงมีความจำเป็นในการรื้อระบบการผลิตครู ครูต้องนักฝึกอบรมและพัฒนาการเรียนรู้รวมถึงการเป็นโค้ชชิ่ง จึงมีการสร้างคุรุทายาท มีสถาบันผลิตครูให้มีคุณภาพ จึงต้องมีการปรับ Mindset

………………

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat)

ที่มา : https://siampongsnews.blogspot.com/2018/07/13_9.html

ขอขอบคุณ : ภาพ/ข่าว siampongsnews

Scroll to Top